top of page

POSTS

การมีผลบังคับใช้ของ U.S. - Trade Facilitation and Trade Enforcemnete Act of 2015


Trade Facilitation and Trade Enforcemnete Act of 2015

ผลของการยกเลิก “Consumptive Demand Clasue” และการมีผลบังคับใช้ของ U.S. - Trade Facilitation and Trade Enforcemnete Act of 2015 – ผลกระทบกับผู้ประกอบการไทย

มาตรา 307 ของกฎหมายว่าด้วยการนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ (the Tariff Act) กำหนดห้ามมิให้มีการนำเข้าสินค้าที่มีการผลิตในต่างประเทศโดยการใช้แรงงานบังคับ แรงงานนักโทษ และแรงงานเด็กเข้าสู่สหรัฐอเมริกา หากมีการนำเข้าสินค้าที่มีลักษณะดังกล่าวจะส่งผลให้มีการปฏิเสธการนำเข้า ยึดสินค้า หรือแม้กระทั่งนำไปสู่การสืบสวนและดำเนินคดีอาญากับผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าว

กฎหมาย U.S. - Trade Facilitation and Trade Enforcemnete Act of 2015 ที่ได้มีการลงนามในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 ให้อำนาจกับศุลกากร หรือ CBP (U.S. Customs and Border Protection) ในการเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้น การที่สภาคองเกรสได้ยกเลิกบทบัญญัติ Consumptive Demand Exemption ที่เป็นการยกเว้นให้มีการนำเข้าสินค้าที่แม้ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกัยการใช้แรงงานบังคับได้หากว่าผู้ผลิตภายในประเทศของสหรัฐฯ ไม่สามารถผลิตสินค้าชนิดดังกล่าวให้เป็นที่เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในสหรัฐฯ เป็นการทำให้เกิดการยกระดับของการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการห้ามนำเข้าสินค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานบังคับ แรงงานเด็กและแรงงานนักโทษ ของ CBP ให้มีความเข้มข้นและมีประสิทธิภาพ

การเริ่มต้นการสืบสวนคดีอาญาของ CBP อาจทำโดยการแจ้งข้อมูลจากบุคคลใดก็ตามที่เชื่อว่าสินค้าที่นำเข้านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานบังคับ แรงงานเด็กและแรงงานนักโทษ ดังนั้น องค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรผู้บริโภคจะเป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นอย่างมากในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนของ CBP

ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ หากไม่ต้องการมีความยุ่งยากอันเกี่ยวเนื่องกับการสอบสวนคดีอาญาของ CBP จะต้องทำการปรับตัวโดยทำการตรวจสอบผู้ผลิตทั้งต้นน้ำและปลายน้ำตลอดทั้ง suppply chain ว่าได้มีการปฏิบัติการที่เหมาะสมในการป้องกันปัญหาแรงงานเด็ก/แรงงานบังคับในรอบรั้วโรงงานของตนและ supplier ของตนแล้วหรือไม่อย่างไร

การจัดทำระบบการทำงานเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที (Grievance Mechanism) ตลอดจน การดำเนินการเพื่อเป็นการรับประกันว่า “เสียงของผู้ใช้แรงงานจะได้ยินและได้รับความใส่ใจจากผู้บริหาร” (Let Workers’ Voice Be Heard) เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยกันคนละไม้คนละมือในการแก้ไขปัญหาทางสังคมแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันความยุ่งยากทางกฎหมายและเป็นหลักประกันหนึ่งของความราบรื่นทางการค้าระหว่างประเทศ --- และนี่ก็เป็นสิ่งที่ MAST และ LPN ร่วมกันผลักดันในการประสานความร่วมมืออย่างจริงใจระหว่างองค์กรธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการป้องปรามปัญหาแรงงานเด็ก แรงงานบังคับในภาคธุรกิจ และเป็นการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

Source:

https://www.cbp.gov/sites/default/files/assets/documents/2016-Apr/TFTEA_Consumptive%20Demand_FINAL_0.pdf

https://www.cbp.gov/sites/default/files/assets/documents/2017-Jan/170103_Forced%20Labor%20Importer%20Due%20Diligence%20Fact%20Sheet.pdf

Recent Posts
bottom of page